วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Dictionary ชี้เป้า



โดย:นางสุมาวดี  ณะไชยลักษณ์    นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
รพสต.วัดขนุน    อ.สิงหนคร  จ.สงขลา
 
          ตำบลวัดขนุน ประกอบด้วย 8 หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน 1,874   หลัง  ประชากร 8,663  คน  และมีประชากรแฝงส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวประมาณ  1,500  คน     การดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขนุน ในเรื่องการรับ แจ้งข่าวการเกิดโรค   โดยเฉพาะช่วงนอกเวลาราชการ  ซึ่งการตรวจสอบเป้าหมายที่ได้รับรายงานและการปฏิบัติงานโดยทันทีเป็นไปได้ยาก  ทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีและมีผลกระทบในการระบาดของโรคเป็นวงกว้างขึ้น  ด้วยเหตุนี้จึงได้คิดจัดทำ Dictionary  ชี้เป้า ใช้เป็นคู่มือในการค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ได้รับแจ้ง ตรวจสอบข่าว ข้อเท็จจริง และดำเนินกิจกรรมตามที่ได้รับแจ้งนั้น  ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวก  ประหยัดทั้งเวลา แรงงานและ งบประมาณ  และนอกจากงานควบคุมและป้องกันโรคแล้วยังใช้ประโยชน์ในงานอื่นๆ เช่น การติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ก่อน/หลังคลอด   การติดตามผู้ป่วยผิดนัด เลื่อนนัด  หรือการให้ได้รับบริการโดยมิได้นัดหมาย  การออกให้บริการตรวจคัดกรองโรคในชุมชน เป็นต้น โดยได้มีการสำรวจจัดทำทะเบียนบ้านที่ อสม.รับผิดชอบ         คิดหารูปแบบจัดทำ  Dictionary ชี้เป้า   ประชุมเจ้าหน้าที่ ชี้แจงการใช้ Dictionary ชี้เป้า การบันทึกการรับและส่งข้อมูล   ประชุม อสม.ในการดำเนินโครงการและการปฏิบัติงานตามงานที่รับผิดชอบในแต่ละงานปฏิบัติงานในการรับ ส่ง ข้อมูลและดำเนินการตามงานที่ได้รับข้อมูล

                    ผลการดำเนินงาน   พบบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขนุน     มีความพึงพอใจในนวัตกรรม Dictionary ชี้เป้า ที่ระดับ 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากนวัตกรรมดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่  ในการค้นหาเป้าหมายที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่,  ระหว่าง อสม.กับเจ้าหน้าที่ หรือจะติดต่อโดยผ่าน อสม. ที่รับผิดชอบหลังคาเรือนดังกล่าวก็ได้  เนื่องจากทุกหลังคาเรือนในตำบลวัดขนุนจะได้รับการบันทึกบ้านเลขที่ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ประจำบ้าน และ อสม.ที่รับผิดชอบไว้ใน Dictionary ดังกล่าว  จึงทำให้ปัญหาในเรื่องความไม่สะดวกในการติดต่อสื่อสาร และการค้นหาเป้าหมายหลังคาเรือนในชุมชนที่ตกหล่น หมดไป  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถสื่อสาร  ส่งข่าว และตรวจสอบข้อมูลด้านสุขภาพกับชุมชนได้ตลอดเวลา  ซึ่งย่อมนำพาสู่การแก้ไขปัญหาที่ทันท่วงที  ส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี เพื่อชีวิตที่เป็นสุขตลอดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น