วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ประชากรทะเบียนราษฏร์(๑ กรกฏาคม ๒๕๕๖) จำแหนกราย รพสต.
จำนวนประชากรอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จำแนกรายสถานบริการ ปี ๒๕๕๖
(จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฏร์ ณ วันที่ ๑ กรกฏาคม ๒๕๕๖)
ลำดับ รพสต. ประชากร(คน)
๑ หัวเขา ต.หัวเขา ๑๕๐๔๘
๒ ม่วงงาม ต.ม่วงงาม ๑๑,๘๕๒
๓ บ้านสถิตย์ ต.สทิงหม้อ ๙,๖๔๑
๔ ชิงโค ต.ชิงโค ๘,๙๓๕
๕ วัดขนุน ต.วัดขนุน ๗,๙๕๑
๖ ทำนบ ต.ทำนบ ๔,๒๓๙
๗ บางเขียด ต.บางเขียด ๓,๒๙๗
๘ ชะแล้ ต.ชะแล้ ๒,๘๕๑
๙ รำแดง ต.รำแดง ๒,๖๘๑
๑๐ ปากรอ ต.ปากรอ ๒,๔๕๖
๑๑ ป่าขาด ต.ป่าขาด ๑,๖๓๘
๑๒ บ้านสว่างอารมณ์ ต.ป่าขาด ๑,๒๖๙
วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556
อสม.น้อย"ตำบลทำนบปี๒๕๕๖
เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ รพสต.ทำนบ อ.สิงหนคร จ.สงขลา จัดกิจกรรม อสม.น้อย"เพื่อเป็นแกนนำในการควบคุมโรคไข้เลือดออกจำนวน ๓๐ คน จากโรงเรียน ๓ โรงเรียน ท่านสามารถเข้าชาภาพกิจกรรมได้ที่>>>> http://www.youtube.com/watch?v=PTXMUlLBCQI
วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
คืนข้อมูล"ไข้เลือดออกที่สทิงหม้อ"สิงหนคร
บันทึกการประชุมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก วันที่ ๓๐ เดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสถิต ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย สาธารณสุขอำเภอสิงหนคร ผอ.รพสต.บ้านสถิต ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคติดต่อ รพสต.บ้านสถิต หน.ฝ่ายรักษาฯเทศบาลเมืองสิงหนคร ตัวแทน ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารศูนย์เด็ก ๔ คน ประธานชุมชน ๓ คน ประธาน อสม.๓ คน ซึ่งครอบคลุมผู้เกี่ยวข้อง ๑๔ คนตามที่กำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้เบื้องต้น นายฐากร นาคแก้ว สาธารณสุขอำเภอสิงหนคร ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แนวทางการควบคุมโรคแบบผสมผสานและ นำเสนอสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ระดับประเทศ จังหวัดและอำเภอสิงหนคร และนายวิจิตร บุญศรี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพสต.สถิตย์นำเสนอสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วมประชุมนำเสนอการดำเนินงานและแนวคิดสรุปได้ดังนี้ นายข้อเรด แกนุ้ย ประธาน อสม.และรองประธานชุมชนเขาเขียวกล่าวว่า “การรณรงค์ได้ผลยากเนื่องจากประชาชนไม่เห็นความสำคัญ ต้องการเครื่องพ่นมาไว้ที่ รพสต.สถิตย์ เพื่อใช้ในชุมชนเขาเขียว จะรับผิดชอบดำเนินการเอง ให้สนับสนุนอุปกรณ์” จะพ่นทุกเดือน ทุกหลังคาเรือน ต้องการให้แจ้งผลการตรวจให้เร็วว่าเป็นไข้เลือดออกหรือไม่ ตอนนี้หลานอยู่ที่ จะนะ เข้าออกโรงพยาบาล แต่ยังไม่รู้เลยว่าเป็นไข้เลือดออกหรือไม่(ประเด็นเรื่องเครื่องพ่น สาธารณสุขอำเภอรับประสานผู้เกี่ยวข้อง) นายธนดล บิลเหล็บ ประธานชุมชนกล่าวว่า “กลไกที่สำคัญคือการที่ กลุ่ม อสม.จะต้องเข้มแข็ง ในการการดำเนินงาน การสื่อสารกับประชาชน ต้องเคาะประตูบ้าน แจ้งให้ทราบว่าขณะนี้เกิดภัยพิบัติในพื้นที่ เรื่องการพ่นกำจัดยุงก็เหมือนกัน ชาวบ้านกลัวว่าเสื้อผ้าจะเปื้อน เสื้อเมียตัวละ ๗๐๐ กลัวถูกน้ำมันที่พ่นออกมา ซึ่งต้องชี้แจงทำความเข้าใจให้เข้มข้น” นางสาว อนุตรา อินหมัน ครูโรงเรียนศาสนามูลนิธิ กล่าวว่า”กิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการคือการรณรงค์ให้ความรู้ด้วยกิจกรรมต่างๆเช่นป้ายนิทรรศการ การตอบคำถาม และกิจกรรมรณรงค์ทุกวันศุกร์ในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และสำรวจลูกน้ำ” นายวิจิตร บุญศรีเพิ่มเติมว่า”เด็กนักเรียนโรงเรียนศาสนมูลนิธิมีนักเรียนป่วยน้อยลงมาก” นางอซีเราะห์ หมาดอาหิน ครูจากโรงเรียนวัดสถิตชลธาร กล่าวว่าโรงเรียนได้ทำกิจกรรมกิจกรรมของโรงเรียนที่ผ่านมาคือ การให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและการป้องกันผ่านการพูดหน้าเสาธงโดยครูเวรประจำวันเสียงตามสาย วารสารของของโรงเรียนในคอลัมน์สุขภาพดีมีสุขซึ่งแจกจ่ายไปให้ผู้ปกครองด้วย และมีกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาด สำรวจลูกน้ำยุงลาย “ นายวิจิตร บุญศรี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพสต.สถิตย์กล่าวว่า”กิจกรรมของ รพสต.ที่จะดำเนินการในปี ๒๕๕๖ นอกจากการควบคุมโรคปกติแล้ว ได้แก่ การณรงค์ที่จะดำเนินการในเดือนสิงหาคม การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ซึ่งได้ดำเนินการแล้ว การจัดซื้อสเปรย์กระป๋องไว้ในชุมชนเพื่อดำเนินการบ้านผู้ป่วยทันทีเมื่อได้รับแจ้ง” สรุปประเด็นสำคัญเป็นมติที่ประชุมสำหรับการดำเนินการในช่วงการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่มีดังนี้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการกิจกรรมอย่างเข้มข้น โดยให้ รพสต.นำข้อมูลให้ผู้นำในวันพฤหัสเพื่อนำแจ้งขอความร่วมมือในมัสยิดทุกวันศุกร์ อสม.เร่งรัดคุณภาพการสำรวจ ลูกน้ำยุงลายและนำผลการสำรวจมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งการเร่งแจ้งข้อมูลให้ประชาชนรับทราบ โรงเรียน ศูนย์เด็กเพิ่มกิจกรรม การคัดกรองเด็กที่มีไข้หน้าเสาธงทุกวันและหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นจะมีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือการดำเนินงานเป็นระยะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของโรคในพื้นที่ (นายฐากร นาคแก้ว บันทึก)
วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ที่ตั้ง รพสต.
ที่ตั้ง รพ.สต. ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสิงหนคร | ||||
ที่ | รพ.สต. | ชื่อบ้าน | หมู่ที่ | ตำบล |
1 | หัวเขา | บ้านหัวเลน | ม.6 | หัวเขา |
2 | สถิต | บ้านล่าง | ม.2 | สทิงหม้อ |
3 | ชิงโค | บ้านบ่อสระ | ม.8 | ชิงโค |
4 | วัดขนุน | บ้านดีหลวง | ม.1 | วัดขนุน |
5 | ม่วงงาม | บ้านม่วงงาม | ม.3 | ม่วงงาม |
6 | ชะแล้ | บ้านชะแล้ | ม.4 | ชะแล้ |
7 | รำแดง | บ้านขมวน | ม.2 | รำแดง |
8 | ปากรอ | บ้านบ่อทราย | ม.2 | ปากรอ |
9 | บางเขียด | บ้านบางเขียด | ม.2 | บางเขียด |
10 | ทำนบ | บ้านแม่ลาด | ม.3 | บ้านแม่ลาด |
11 | ป่าขาด | บ้านป่าขาด | ม.2 | ป่าขาด |
12 | สว่างอารมณ์ | บ้านสว่างอารมณ์ | ม.4 | บ้านชายป่า |
วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
สืบสาน มูลนิธิประภาส เจียมจิตร บุญทวีและบุตร คนดีที่สิงหนคร
วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
การดูแลผู้ป่วยผู้ป่วยนอนติดเตียงที่บ้านแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม
อ.สิงหนคร จ.สงขลา
พบผู้ป่วยนอนติดเตียงที่บ้าน จำนวน ๖๗ คน โดยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต จำนวน ๕๗ คน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ จำนวน ๔๙ คน ได้รับอุบัติเหตุ ๘ คน โรคชรา ๑๐ คน ซึ่งผู้ป่วยนอนติดเตียงส่วนใหญ่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และมีแนวโน้มผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น บางรายมีแผลกดทับ บางรายต้องให้อาหารทางสายยาง การดูแลผู้ป่วยที่นอนติดเตียงที่บ้านจึงต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ พร้อมทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีความสะอาด สะดวก ปลอดภัย กับผู้ป่วย เป้าหมายสูงสุดต้องมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สมเกียรติ มีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม จึงเล็งเห็นว่าหากผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้ มีทักษะการดูแลผู้ป่วยโดยการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง และได้รับการฟื้นฟูอย่างถูกต้องต่อเนื่อง ผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตประจำวัน และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขและเสียชีวิตอย่างมีคุณค่า จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยนอนติดเตียง (Home Ward / Home Care) ขึ้น โดยได้มีการสำรวจค้นหาบ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงที่เหมาะสำหรับเป็นกรณีศึกษา และได้มีการปรับปรุงบ้านผู้ป่วยกรณีศึกษาให้เหมาะสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้การฝึกปฏิบัติจริง จากนั้นได้แบ่งกลุ่มผู้ดูแลออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๑๐ คน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกปฏิบัติจริงยังบ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงกรณีศึกษา จัดกิจกรรม Walkranry ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโดยการนวดแผนไทย ปรับปรุงเตียงผู้ป่วย จัดตั้งชมรมจิตอาสาดูแลผู้ป่วยนอนติดเตียง และมีการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงอย่างต่อเนื่อง
ผลการจัดกิจกรรม ดำเนินกิจกรรมโดยการค้นหาบ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงกรณีศึกษาจำนวน ๕ ราย จัดปรับปรุงสถานที่บ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงให้เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้การฝึกปฏิบัติจริง แบ่งกลุ่มผู้ดูแลจำนวน ๕ กลุ่ม กลุ่มละ ๑๐ คน เข้ารับการฝึกปฏิบัติจริง พบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรม ร้อยละ ๘๕ กิจกรรมเยี่ยมและปรับปรุงเตียงผู้ป่วย มีการมอบผ้าปูเตียง หมอนข้าง หมอนหนุนให้กับผู้ป่วย ร่วมกับอาสมัครสาธารณสุขและทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลสิงหนครเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในรายที่ต้องให้การช่วยเหลือเร่งด่วน กรณีนายพา คงหลี อายุ ๗๐ ปี ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีลูกสาวชื่อนางวนิดา แกล้วทนงค์ เป็นผู้ดูแล ผู้ป่วยนอนติดเตียงรายนี้มีแผลกดทับขนาดใหญ่ และลึก ต้องทำแผลทุกวัน จึงได้มีการแนะนำวิธีการทำแผลและสนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับทำแผลให้กับผู้ป่วยรายนี้ นอกจากนั้นยังมีการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรสำหรับรักษาแผลกดทับ โดยการใช้ว่านหางจระเข้ผสมกับน้ำผึ้งรวง นำมาทาบริเวณแผลกดทับจนทำให้แผลมีลักษณะดีขึ้นตามลำดับ สร้างความพึงพอใจให้กับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง กรณีเยี่ยมบ้านนายจบ แก้วศรีวงศกร อายุ ๗๘ ปี มีประวัติโรคเรื้อรัง รับยาต่อเนื่องโรงพยาบาลสงขลา ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง รับประทานอาหารได้น้อย จนทำให้ร่างกายทรุดลง ผอม เท้าบวม เริ่มมีอาการข้อติด ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย ได้แนะนำการให้อาหารทางสายยาง ผู้ป่วยปฏิเสธการให้อาหารทางสายยาง จึงได้แนะนำให้ผู้ดูแลป้อนอาหารเหลวให้กับผู้ป่วยแทนการให้ทางให้ยาง และแนะนำการทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ ผู้ป่วยสามารถลุง-นั่งเองได้ แต่ยังไม่สามารถเดินได้เนื่องจากยังมีอาการ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)