วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประชากรทะเบียนราษฏร์(๑ กรกฏาคม ๒๕๕๖) จำแหนกราย รพสต.

จำนวนประชากรอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จำแนกรายสถานบริการ ปี ๒๕๕๖ (จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฏร์ ณ วันที่ ๑ กรกฏาคม ๒๕๕๖) ลำดับ รพสต. ประชากร(คน) ๑ หัวเขา ต.หัวเขา ๑๕๐๔๘ ๒ ม่วงงาม ต.ม่วงงาม ๑๑,๘๕๒ ๓ บ้านสถิตย์ ต.สทิงหม้อ ๙,๖๔๑ ๔ ชิงโค ต.ชิงโค ๘,๙๓๕ ๕ วัดขนุน ต.วัดขนุน ๗,๙๕๑ ๖ ทำนบ ต.ทำนบ ๔,๒๓๙ ๗ บางเขียด ต.บางเขียด ๓,๒๙๗ ๘ ชะแล้ ต.ชะแล้ ๒,๘๕๑ ๙ รำแดง ต.รำแดง ๒,๖๘๑ ๑๐ ปากรอ ต.ปากรอ ๒,๔๕๖ ๑๑ ป่าขาด ต.ป่าขาด ๑,๖๓๘ ๑๒ บ้านสว่างอารมณ์ ต.ป่าขาด ๑,๒๖๙

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อสม.น้อย"ตำบลทำนบปี๒๕๕๖

เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ รพสต.ทำนบ  อ.สิงหนคร  จ.สงขลา จัดกิจกรรม อสม.น้อย"เพื่อเป็นแกนนำในการควบคุมโรคไข้เลือดออกจำนวน ๓๐  คน จากโรงเรียน ๓ โรงเรียน ท่านสามารถเข้าชาภาพกิจกรรมได้ที่>>>> http://www.youtube.com/watch?v=PTXMUlLBCQI

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คืนข้อมูล"ไข้เลือดออกที่สทิงหม้อ"สิงหนคร

บันทึกการประชุมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก วันที่ ๓๐ เดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสถิต ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย สาธารณสุขอำเภอสิงหนคร ผอ.รพสต.บ้านสถิต ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคติดต่อ รพสต.บ้านสถิต หน.ฝ่ายรักษาฯเทศบาลเมืองสิงหนคร ตัวแทน ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารศูนย์เด็ก ๔ คน ประธานชุมชน ๓ คน ประธาน อสม.๓ คน ซึ่งครอบคลุมผู้เกี่ยวข้อง ๑๔ คนตามที่กำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้เบื้องต้น นายฐากร นาคแก้ว สาธารณสุขอำเภอสิงหนคร ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แนวทางการควบคุมโรคแบบผสมผสานและ นำเสนอสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ระดับประเทศ จังหวัดและอำเภอสิงหนคร และนายวิจิตร บุญศรี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพสต.สถิตย์นำเสนอสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วมประชุมนำเสนอการดำเนินงานและแนวคิดสรุปได้ดังนี้ นายข้อเรด แกนุ้ย ประธาน อสม.และรองประธานชุมชนเขาเขียวกล่าวว่า “การรณรงค์ได้ผลยากเนื่องจากประชาชนไม่เห็นความสำคัญ ต้องการเครื่องพ่นมาไว้ที่ รพสต.สถิตย์ เพื่อใช้ในชุมชนเขาเขียว จะรับผิดชอบดำเนินการเอง ให้สนับสนุนอุปกรณ์” จะพ่นทุกเดือน ทุกหลังคาเรือน ต้องการให้แจ้งผลการตรวจให้เร็วว่าเป็นไข้เลือดออกหรือไม่ ตอนนี้หลานอยู่ที่ จะนะ เข้าออกโรงพยาบาล แต่ยังไม่รู้เลยว่าเป็นไข้เลือดออกหรือไม่(ประเด็นเรื่องเครื่องพ่น สาธารณสุขอำเภอรับประสานผู้เกี่ยวข้อง) นายธนดล บิลเหล็บ ประธานชุมชนกล่าวว่า “กลไกที่สำคัญคือการที่ กลุ่ม อสม.จะต้องเข้มแข็ง ในการการดำเนินงาน การสื่อสารกับประชาชน ต้องเคาะประตูบ้าน แจ้งให้ทราบว่าขณะนี้เกิดภัยพิบัติในพื้นที่ เรื่องการพ่นกำจัดยุงก็เหมือนกัน ชาวบ้านกลัวว่าเสื้อผ้าจะเปื้อน เสื้อเมียตัวละ ๗๐๐ กลัวถูกน้ำมันที่พ่นออกมา ซึ่งต้องชี้แจงทำความเข้าใจให้เข้มข้น” นางสาว อนุตรา อินหมัน ครูโรงเรียนศาสนามูลนิธิ กล่าวว่า”กิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการคือการรณรงค์ให้ความรู้ด้วยกิจกรรมต่างๆเช่นป้ายนิทรรศการ การตอบคำถาม และกิจกรรมรณรงค์ทุกวันศุกร์ในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และสำรวจลูกน้ำ” นายวิจิตร บุญศรีเพิ่มเติมว่า”เด็กนักเรียนโรงเรียนศาสนมูลนิธิมีนักเรียนป่วยน้อยลงมาก” นางอซีเราะห์ หมาดอาหิน ครูจากโรงเรียนวัดสถิตชลธาร กล่าวว่าโรงเรียนได้ทำกิจกรรมกิจกรรมของโรงเรียนที่ผ่านมาคือ การให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและการป้องกันผ่านการพูดหน้าเสาธงโดยครูเวรประจำวันเสียงตามสาย วารสารของของโรงเรียนในคอลัมน์สุขภาพดีมีสุขซึ่งแจกจ่ายไปให้ผู้ปกครองด้วย และมีกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาด สำรวจลูกน้ำยุงลาย “ นายวิจิตร บุญศรี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพสต.สถิตย์กล่าวว่า”กิจกรรมของ รพสต.ที่จะดำเนินการในปี ๒๕๕๖ นอกจากการควบคุมโรคปกติแล้ว ได้แก่ การณรงค์ที่จะดำเนินการในเดือนสิงหาคม การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ซึ่งได้ดำเนินการแล้ว การจัดซื้อสเปรย์กระป๋องไว้ในชุมชนเพื่อดำเนินการบ้านผู้ป่วยทันทีเมื่อได้รับแจ้ง” สรุปประเด็นสำคัญเป็นมติที่ประชุมสำหรับการดำเนินการในช่วงการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่มีดังนี้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการกิจกรรมอย่างเข้มข้น โดยให้ รพสต.นำข้อมูลให้ผู้นำในวันพฤหัสเพื่อนำแจ้งขอความร่วมมือในมัสยิดทุกวันศุกร์ อสม.เร่งรัดคุณภาพการสำรวจ ลูกน้ำยุงลายและนำผลการสำรวจมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งการเร่งแจ้งข้อมูลให้ประชาชนรับทราบ โรงเรียน ศูนย์เด็กเพิ่มกิจกรรม การคัดกรองเด็กที่มีไข้หน้าเสาธงทุกวันและหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นจะมีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือการดำเนินงานเป็นระยะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของโรคในพื้นที่ (นายฐากร นาคแก้ว บันทึก)

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ที่ตั้ง รพสต.

ที่ตั้ง รพ.สต. ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสิงหนคร
ที่รพ.สต.ชื่อบ้านหมู่ที่ตำบล
1หัวเขาบ้านหัวเลนม.6หัวเขา
2สถิตบ้านล่างม.2สทิงหม้อ
3ชิงโคบ้านบ่อสระม.8ชิงโค
4วัดขนุนบ้านดีหลวงม.1วัดขนุน
5ม่วงงามบ้านม่วงงามม.3ม่วงงาม
6ชะแล้บ้านชะแล้ม.4ชะแล้
7รำแดงบ้านขมวนม.2รำแดง
8ปากรอบ้านบ่อทรายม.2ปากรอ
9บางเขียดบ้านบางเขียดม.2บางเขียด
10ทำนบบ้านแม่ลาดม.3บ้านแม่ลาด
11ป่าขาดบ้านป่าขาดม.2ป่าขาด
12สว่างอารมณ์บ้านสว่างอารมณ์ม.4บ้านชายป่า

วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


สืบสาน มูลนิธิประภาส เจียมจิตร บุญทวีและบุตร คนดีที่สิงหนคร

 มูลนิธิประภาส เจียมจิต บุญทวีและบุตร ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๙ เดือนเมษายน  พ.ศ.๒๕๔๑ โดยท่านบัญญัติ จันทน์เสนะ ขณะดำรงตำแหน่งนายอำเภอสิงหนคร  เป็นผู้ริเริ่มหลังเหตุการณ์ ฆ่าสังหาร ๕ ศพ ประภาส บุญทวี เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและครอบครัว ที่อำเภอสิงหนคร โดยมูลนิธิฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลผู้ด้อยโอกาสในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และพบว่ามูลนิธิฯ ไม่ได้ขับเคลื่อนกิจกรรมมาหลายปี ในปี ๒๕๕๖ คณะกรรมการชมรมคุณธรรมจริยธรรมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสิงหนคร มีความเห็นเห็นว่าคุณประภาส บุญทวี เป็นบุคลากรสาธารณสุขที่สมควรได้รับการเชิดชูเกียรติต่อไป จึงอาสาเข้ามารับหน้าที่ประสานกิจกรรมของมูลนิธิ โดยเริ่มจากศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับมูลนิธิฯ และเจรจากับคณะกรรมการมูลนิธิโดยมีข้อเสนอให้เข้ามาดูแลเรื่องทุนการศึกษาแก่บุตรของสมาชิกชมรมคุณธรรมจริยธรรม สสอ.สิงหนคร ส่วนหนึ่ง และขอเสนอให้กรรมการชมรมคุณธรรมจริยธรรม สสอ.สิงหนคร ร่วมเป็นกรรมการมูลนิธิด้วย  เมื่อหลักการเบื้องต้นได้รับความเห็นชอบจึงได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิใหม่ และจัดประชุมคณะกรรมการเพื่อเริ่มฟื้นฟูมูลนิธิฯ และได้ทำกิจกรรม มอบทุนการศึกษาแก่บุตรของสมาชิกชมรมฯ จำนวน ๓ ทุนๆละ ๒๐๐๐ บาท มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนโรงเรียนวัดบ่อสระ  จำนวน ๓ ทุนๆละ  ๒๐๐๐  บาท รวมเป็นเงิน ๑,๒๐๐๐  บาทช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและตำบลม่วงงาม ที่ตำบลหัวเขา จำนวน ๓ ราย ปัจจุบันมูลนิธิฯ มีทุน ๓๖๑,๖๔๘  บาท สำหรับใช้ในกิจกรรมของมูลนิธิในอนาคต 
เป็นความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและเชิดชูคนดีในหน่วยงานและมั่นใจว่า การสืบสานมูลนิธิประภาส เจียมจิต  บุญทวีและบุตรโดยประวัติและชีวิตของคุณประภาส บุญทวี จะเป็นเรื่องราวช่วยกระตุ้นนำพาสมาชิกชมรมจำนวน ๘๒  คน ได้ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกันมุ่งไปสู่การ มีคุณธรรมเป็นพื้นฐาน มีความรัก ความสามัคคีและเอื้ออาทรต่อกัน  มีความเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ เห็นแก่ประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การดูแลผู้ป่วยผู้ป่วยนอนติดเตียงที่บ้านแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน


นางศุภดา  ชะอุ่มชาติ  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม
อ.สิงหนคร จ.สงขลา
พบผู้ป่วยนอนติดเตียงที่บ้าน จำนวน ๖๗ คน โดยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต จำนวน ๕๗ คน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ จำนวน ๔๙ คน ได้รับอุบัติเหตุ ๘ คน โรคชรา ๑๐ คน ซึ่งผู้ป่วยนอนติดเตียงส่วนใหญ่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และมีแนวโน้มผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น บางรายมีแผลกดทับ บางรายต้องให้อาหารทางสายยาง การดูแลผู้ป่วยที่นอนติดเตียงที่บ้านจึงต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ พร้อมทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีความสะอาด สะดวก ปลอดภัย กับผู้ป่วย เป้าหมายสูงสุดต้องมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สมเกียรติ มีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม จึงเล็งเห็นว่าหากผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้  มีทักษะการดูแลผู้ป่วยโดยการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง และได้รับการฟื้นฟูอย่างถูกต้องต่อเนื่อง ผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตประจำวัน และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขและเสียชีวิตอย่างมีคุณค่า จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยนอนติดเตียง (Home Ward / Home Care) ขึ้น   โดยได้มีการสำรวจค้นหาบ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงที่เหมาะสำหรับเป็นกรณีศึกษา และได้มีการปรับปรุงบ้านผู้ป่วยกรณีศึกษาให้เหมาะสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้การฝึกปฏิบัติจริง  จากนั้นได้แบ่งกลุ่มผู้ดูแลออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๑๐ คน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกปฏิบัติจริงยังบ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงกรณีศึกษา จัดกิจกรรม Walkranry ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโดยการนวดแผนไทย ปรับปรุงเตียงผู้ป่วย จัดตั้งชมรมจิตอาสาดูแลผู้ป่วยนอนติดเตียง  และมีการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงอย่างต่อเนื่อง
ผลการจัดกิจกรรม ดำเนินกิจกรรมโดยการค้นหาบ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงกรณีศึกษาจำนวน ๕ ราย จัดปรับปรุงสถานที่บ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงให้เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้การฝึกปฏิบัติจริง แบ่งกลุ่มผู้ดูแลจำนวน ๕ กลุ่ม กลุ่มละ ๑๐ คน เข้ารับการฝึกปฏิบัติจริง  พบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรม  ร้อยละ ๘๕ กิจกรรมเยี่ยมและปรับปรุงเตียงผู้ป่วย มีการมอบผ้าปูเตียง หมอนข้าง หมอนหนุนให้กับผู้ป่วย ร่วมกับอาสมัครสาธารณสุขและทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลสิงหนครเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในรายที่ต้องให้การช่วยเหลือเร่งด่วน กรณีนายพา คงหลี อายุ ๗๐ ปี ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีลูกสาวชื่อนางวนิดา  แกล้วทนงค์ เป็นผู้ดูแล  ผู้ป่วยนอนติดเตียงรายนี้มีแผลกดทับขนาดใหญ่ และลึก ต้องทำแผลทุกวัน จึงได้มีการแนะนำวิธีการทำแผลและสนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับทำแผลให้กับผู้ป่วยรายนี้ นอกจากนั้นยังมีการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรสำหรับรักษาแผลกดทับ โดยการใช้ว่านหางจระเข้ผสมกับน้ำผึ้งรวง นำมาทาบริเวณแผลกดทับจนทำให้แผลมีลักษณะดีขึ้นตามลำดับ สร้างความพึงพอใจให้กับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง กรณีเยี่ยมบ้านนายจบ แก้วศรีวงศกร อายุ ๗๘ ปี มีประวัติโรคเรื้อรัง รับยาต่อเนื่องโรงพยาบาลสงขลา ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง รับประทานอาหารได้น้อย จนทำให้ร่างกายทรุดลง ผอม เท้าบวม เริ่มมีอาการข้อติด ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย ได้แนะนำการให้อาหารทางสายยาง ผู้ป่วยปฏิเสธการให้อาหารทางสายยาง จึงได้แนะนำให้ผู้ดูแลป้อนอาหารเหลวให้กับผู้ป่วยแทนการให้ทางให้ยาง และแนะนำการทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ ผู้ป่วยสามารถลุง-นั่งเองได้ แต่ยังไม่สามารถเดินได้เนื่องจากยังมีอาการ