วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การดูแลผู้ป่วยผู้ป่วยนอนติดเตียงที่บ้านแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน


นางศุภดา  ชะอุ่มชาติ  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม
อ.สิงหนคร จ.สงขลา
พบผู้ป่วยนอนติดเตียงที่บ้าน จำนวน ๖๗ คน โดยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต จำนวน ๕๗ คน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ จำนวน ๔๙ คน ได้รับอุบัติเหตุ ๘ คน โรคชรา ๑๐ คน ซึ่งผู้ป่วยนอนติดเตียงส่วนใหญ่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และมีแนวโน้มผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น บางรายมีแผลกดทับ บางรายต้องให้อาหารทางสายยาง การดูแลผู้ป่วยที่นอนติดเตียงที่บ้านจึงต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ พร้อมทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีความสะอาด สะดวก ปลอดภัย กับผู้ป่วย เป้าหมายสูงสุดต้องมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สมเกียรติ มีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม จึงเล็งเห็นว่าหากผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้  มีทักษะการดูแลผู้ป่วยโดยการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง และได้รับการฟื้นฟูอย่างถูกต้องต่อเนื่อง ผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตประจำวัน และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขและเสียชีวิตอย่างมีคุณค่า จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยนอนติดเตียง (Home Ward / Home Care) ขึ้น   โดยได้มีการสำรวจค้นหาบ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงที่เหมาะสำหรับเป็นกรณีศึกษา และได้มีการปรับปรุงบ้านผู้ป่วยกรณีศึกษาให้เหมาะสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้การฝึกปฏิบัติจริง  จากนั้นได้แบ่งกลุ่มผู้ดูแลออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๑๐ คน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกปฏิบัติจริงยังบ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงกรณีศึกษา จัดกิจกรรม Walkranry ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโดยการนวดแผนไทย ปรับปรุงเตียงผู้ป่วย จัดตั้งชมรมจิตอาสาดูแลผู้ป่วยนอนติดเตียง  และมีการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงอย่างต่อเนื่อง
ผลการจัดกิจกรรม ดำเนินกิจกรรมโดยการค้นหาบ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงกรณีศึกษาจำนวน ๕ ราย จัดปรับปรุงสถานที่บ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงให้เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้การฝึกปฏิบัติจริง แบ่งกลุ่มผู้ดูแลจำนวน ๕ กลุ่ม กลุ่มละ ๑๐ คน เข้ารับการฝึกปฏิบัติจริง  พบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรม  ร้อยละ ๘๕ กิจกรรมเยี่ยมและปรับปรุงเตียงผู้ป่วย มีการมอบผ้าปูเตียง หมอนข้าง หมอนหนุนให้กับผู้ป่วย ร่วมกับอาสมัครสาธารณสุขและทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลสิงหนครเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในรายที่ต้องให้การช่วยเหลือเร่งด่วน กรณีนายพา คงหลี อายุ ๗๐ ปี ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีลูกสาวชื่อนางวนิดา  แกล้วทนงค์ เป็นผู้ดูแล  ผู้ป่วยนอนติดเตียงรายนี้มีแผลกดทับขนาดใหญ่ และลึก ต้องทำแผลทุกวัน จึงได้มีการแนะนำวิธีการทำแผลและสนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับทำแผลให้กับผู้ป่วยรายนี้ นอกจากนั้นยังมีการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรสำหรับรักษาแผลกดทับ โดยการใช้ว่านหางจระเข้ผสมกับน้ำผึ้งรวง นำมาทาบริเวณแผลกดทับจนทำให้แผลมีลักษณะดีขึ้นตามลำดับ สร้างความพึงพอใจให้กับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง กรณีเยี่ยมบ้านนายจบ แก้วศรีวงศกร อายุ ๗๘ ปี มีประวัติโรคเรื้อรัง รับยาต่อเนื่องโรงพยาบาลสงขลา ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง รับประทานอาหารได้น้อย จนทำให้ร่างกายทรุดลง ผอม เท้าบวม เริ่มมีอาการข้อติด ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย ได้แนะนำการให้อาหารทางสายยาง ผู้ป่วยปฏิเสธการให้อาหารทางสายยาง จึงได้แนะนำให้ผู้ดูแลป้อนอาหารเหลวให้กับผู้ป่วยแทนการให้ทางให้ยาง และแนะนำการทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ ผู้ป่วยสามารถลุง-นั่งเองได้ แต่ยังไม่สามารถเดินได้เนื่องจากยังมีอาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น