วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


สืบสาน มูลนิธิประภาส เจียมจิตร บุญทวีและบุตร คนดีที่สิงหนคร

 มูลนิธิประภาส เจียมจิต บุญทวีและบุตร ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๙ เดือนเมษายน  พ.ศ.๒๕๔๑ โดยท่านบัญญัติ จันทน์เสนะ ขณะดำรงตำแหน่งนายอำเภอสิงหนคร  เป็นผู้ริเริ่มหลังเหตุการณ์ ฆ่าสังหาร ๕ ศพ ประภาส บุญทวี เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและครอบครัว ที่อำเภอสิงหนคร โดยมูลนิธิฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลผู้ด้อยโอกาสในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และพบว่ามูลนิธิฯ ไม่ได้ขับเคลื่อนกิจกรรมมาหลายปี ในปี ๒๕๕๖ คณะกรรมการชมรมคุณธรรมจริยธรรมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสิงหนคร มีความเห็นเห็นว่าคุณประภาส บุญทวี เป็นบุคลากรสาธารณสุขที่สมควรได้รับการเชิดชูเกียรติต่อไป จึงอาสาเข้ามารับหน้าที่ประสานกิจกรรมของมูลนิธิ โดยเริ่มจากศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับมูลนิธิฯ และเจรจากับคณะกรรมการมูลนิธิโดยมีข้อเสนอให้เข้ามาดูแลเรื่องทุนการศึกษาแก่บุตรของสมาชิกชมรมคุณธรรมจริยธรรม สสอ.สิงหนคร ส่วนหนึ่ง และขอเสนอให้กรรมการชมรมคุณธรรมจริยธรรม สสอ.สิงหนคร ร่วมเป็นกรรมการมูลนิธิด้วย  เมื่อหลักการเบื้องต้นได้รับความเห็นชอบจึงได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิใหม่ และจัดประชุมคณะกรรมการเพื่อเริ่มฟื้นฟูมูลนิธิฯ และได้ทำกิจกรรม มอบทุนการศึกษาแก่บุตรของสมาชิกชมรมฯ จำนวน ๓ ทุนๆละ ๒๐๐๐ บาท มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนโรงเรียนวัดบ่อสระ  จำนวน ๓ ทุนๆละ  ๒๐๐๐  บาท รวมเป็นเงิน ๑,๒๐๐๐  บาทช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและตำบลม่วงงาม ที่ตำบลหัวเขา จำนวน ๓ ราย ปัจจุบันมูลนิธิฯ มีทุน ๓๖๑,๖๔๘  บาท สำหรับใช้ในกิจกรรมของมูลนิธิในอนาคต 
เป็นความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและเชิดชูคนดีในหน่วยงานและมั่นใจว่า การสืบสานมูลนิธิประภาส เจียมจิต  บุญทวีและบุตรโดยประวัติและชีวิตของคุณประภาส บุญทวี จะเป็นเรื่องราวช่วยกระตุ้นนำพาสมาชิกชมรมจำนวน ๘๒  คน ได้ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกันมุ่งไปสู่การ มีคุณธรรมเป็นพื้นฐาน มีความรัก ความสามัคคีและเอื้ออาทรต่อกัน  มีความเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ เห็นแก่ประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การดูแลผู้ป่วยผู้ป่วยนอนติดเตียงที่บ้านแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน


นางศุภดา  ชะอุ่มชาติ  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม
อ.สิงหนคร จ.สงขลา
พบผู้ป่วยนอนติดเตียงที่บ้าน จำนวน ๖๗ คน โดยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต จำนวน ๕๗ คน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ จำนวน ๔๙ คน ได้รับอุบัติเหตุ ๘ คน โรคชรา ๑๐ คน ซึ่งผู้ป่วยนอนติดเตียงส่วนใหญ่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และมีแนวโน้มผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น บางรายมีแผลกดทับ บางรายต้องให้อาหารทางสายยาง การดูแลผู้ป่วยที่นอนติดเตียงที่บ้านจึงต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ พร้อมทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีความสะอาด สะดวก ปลอดภัย กับผู้ป่วย เป้าหมายสูงสุดต้องมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สมเกียรติ มีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม จึงเล็งเห็นว่าหากผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้  มีทักษะการดูแลผู้ป่วยโดยการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง และได้รับการฟื้นฟูอย่างถูกต้องต่อเนื่อง ผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตประจำวัน และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขและเสียชีวิตอย่างมีคุณค่า จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยนอนติดเตียง (Home Ward / Home Care) ขึ้น   โดยได้มีการสำรวจค้นหาบ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงที่เหมาะสำหรับเป็นกรณีศึกษา และได้มีการปรับปรุงบ้านผู้ป่วยกรณีศึกษาให้เหมาะสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้การฝึกปฏิบัติจริง  จากนั้นได้แบ่งกลุ่มผู้ดูแลออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๑๐ คน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกปฏิบัติจริงยังบ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงกรณีศึกษา จัดกิจกรรม Walkranry ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโดยการนวดแผนไทย ปรับปรุงเตียงผู้ป่วย จัดตั้งชมรมจิตอาสาดูแลผู้ป่วยนอนติดเตียง  และมีการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงอย่างต่อเนื่อง
ผลการจัดกิจกรรม ดำเนินกิจกรรมโดยการค้นหาบ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงกรณีศึกษาจำนวน ๕ ราย จัดปรับปรุงสถานที่บ้านผู้ป่วยนอนติดเตียงให้เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้การฝึกปฏิบัติจริง แบ่งกลุ่มผู้ดูแลจำนวน ๕ กลุ่ม กลุ่มละ ๑๐ คน เข้ารับการฝึกปฏิบัติจริง  พบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรม  ร้อยละ ๘๕ กิจกรรมเยี่ยมและปรับปรุงเตียงผู้ป่วย มีการมอบผ้าปูเตียง หมอนข้าง หมอนหนุนให้กับผู้ป่วย ร่วมกับอาสมัครสาธารณสุขและทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลสิงหนครเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในรายที่ต้องให้การช่วยเหลือเร่งด่วน กรณีนายพา คงหลี อายุ ๗๐ ปี ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีลูกสาวชื่อนางวนิดา  แกล้วทนงค์ เป็นผู้ดูแล  ผู้ป่วยนอนติดเตียงรายนี้มีแผลกดทับขนาดใหญ่ และลึก ต้องทำแผลทุกวัน จึงได้มีการแนะนำวิธีการทำแผลและสนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับทำแผลให้กับผู้ป่วยรายนี้ นอกจากนั้นยังมีการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรสำหรับรักษาแผลกดทับ โดยการใช้ว่านหางจระเข้ผสมกับน้ำผึ้งรวง นำมาทาบริเวณแผลกดทับจนทำให้แผลมีลักษณะดีขึ้นตามลำดับ สร้างความพึงพอใจให้กับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง กรณีเยี่ยมบ้านนายจบ แก้วศรีวงศกร อายุ ๗๘ ปี มีประวัติโรคเรื้อรัง รับยาต่อเนื่องโรงพยาบาลสงขลา ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง รับประทานอาหารได้น้อย จนทำให้ร่างกายทรุดลง ผอม เท้าบวม เริ่มมีอาการข้อติด ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย ได้แนะนำการให้อาหารทางสายยาง ผู้ป่วยปฏิเสธการให้อาหารทางสายยาง จึงได้แนะนำให้ผู้ดูแลป้อนอาหารเหลวให้กับผู้ป่วยแทนการให้ทางให้ยาง และแนะนำการทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ ผู้ป่วยสามารถลุง-นั่งเองได้ แต่ยังไม่สามารถเดินได้เนื่องจากยังมีอาการ

หนังตะลุงหมอสนั่น"ต้านภัยไข้เลือดออก"

 
 
 
ปลายปี  2555 ไข้เลือดออกระบาดใหญ่ ในบางพื้นที่อำเภอสิงหนคร
หมอสนั่น นักสาธารณสุขชุมชน เขียนบท และเล่นหนังตลุง
เป็นสื่อสาธารณะ
เพื่อใช้ในการรณรงค์ ป้องกันโรคไข้เลือดออก
ท่านสามารถ เข้าดูหนังลุงได้ที่นี่>>>

น้ำตา รอยยิ้มองลุงถั้น



"น้ำตา  รอยยิ้มของลุงถั้น"  หนังสั้น: เรื่องราวการทำงานของทีมสุขภาพ รพสต.ชะแล้
อ.สิงหนคร  จ.สงขลา ในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ
ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ
ท่านสามารถเข้าดูหนังได้ที่นี่>>>
 

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

นักสาธารณสุขชุมชน เพื่อคนปฐมภูมิ ที่สิงหนคร"สงขลา

 
 

เก็บภาพ - ใส่เพลง - เป็นภาพการทำงานของ
นักสาธารณสุขที่อำเภอสิงหนคร  จังหวัดสงขลา
ใช้ในกิจกรรมนำเสนอผลงาน ปี2556
17 พฤษภาคม 2556
ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอิงหนคร



"ขอขอบคุณ ผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน
ที่ เกื้อหนุนและเข้าร่วมกิจกรรม ครับ"
ฐากร  นาคแก้ว
สาธารณสุขอำเภอสิงหนคร

พัฒนาศักยภาพแกนนำ ผู้ดูแล สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ


 
โดย:     นางสาวสุชาดา  คงคาลิหมีน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร  จังหวัดสงขลา
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม มีพื้นในเขตรับผิดชอบ จำนวน 10 หมู่บ้าน มีประชากร จำนวน 13,259 คน และมีจำนวน 2,640 ครัวเรือน จากการสำรวจข้อมูลพบว่า ปี พ.ศ. 2553 ตำบลม่วงงามมีผู้พิการ จำนวน 117 ราย ต่อมาในปี พ.ศ.2554 มีจำนวนผู้พิการ 123 ราย  และในปี พ.ศ.2555 มีจำนวนผู้พิการ 175 ราย  และปัจจุบันมีผู้พิการจำนวน 183 ราย จากข้อมูล 3 ปี ย้อนหลังจะเห็นได้ว่าพื้นที่ตำบลม่วงงามมีจำนวนผู้พิการเพิ่มขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผู้พิการส่วนใหญ่เป็นผู้พิการทางกาย และการเคลื่อนไหว ทั้งที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด และเกิดจากอุบัติเหตุ ทำให้ผู้พิการดังกล่าวไม่สามารถดำเนินชีวิต และปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเหมือนคนปกติได้  ผู้พิการบางรายยังถูกทอดทิ้ง ขาดผู้ดูแลที่มีทักษะและความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแล  อีกทั้งผู้พิการส่วนใหญ่ไม่สามารถเดินทางไปประกอบอาชีพนอกบ้านได้ ผู้พิการจึงขาดรายได้ และอาจส่งผลกระทบให้ผู้พิการเกิดภาวะซึมเศร้า ทำให้ขาดขวัญและกำลังใจในการดำเนินชีวิต  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม จึงได้เล็งเห็นว่ากลุ่มผู้พิการควรได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างถูกต้องและเหมาะสม จึงได้จัดกิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแกนนำผู้ดูแลผู้พิการในตำบลม่วงงามช่วยเหลือดูแล และฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้พิการ และเพื่อสร้างคุณค่าให้ผู้พิการโดยการสร้างอาชีพให้แก่ผู้พิการ

จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงามจึงได้ดำเนินการจัดอบรมแกนนำผู้ดูแลผู้พิการ จำนวน 30 คน คัดเลือกจาก อสม.ที่มีความสนใจ  หมู่ละ 3 คน ซึ่งมีกิจกรรมการสำรวจข้อมูลและออกเยี่ยมบ้านผู้พิการทั้ง 10 หมู่บ้าน อบรมเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปในการดูแลผู้พิการ ฝึกทักษะการช่วยเหลือผู้พิการที่ถูกวิธี โดยมีทีม สหวิชาชีพจาก รพ.สิงหนคร เป็นวิทยากรร่วมในการอบรมให้ความรู้ จากนั้นจัดอบรมผู้ดูแลผู้พิการ จำนวน 100 คน โดยคัดเลือกจากผู้ดูแลผู้พิการเดิมและประชาชนที่สนใจ หมู่ละ 10 คน มีการอบรมให้ความรู้ถึงวิธีการดูแลผู้พิการ สิทธิประโยชน์ต่างๆที่ผู้พิการควรจะได้รับ และฝึกทักษะการช่วยเหลือผู้พิการที่ถูกวิธี นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรมส่งเสริมอาชีพให้แก่ผู้พิการที่สนใจ จำนวน 25 คน เช่น การผลิตดอกไม้จันทน์ การผลิตน้ำยาล้างจาน การผลิตน้ำมันไพล การ การผลิตลูกประคบสมุนไพร ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า แกนนำผู้ดูแลผู้พิการมีความรู้เกี่ยวกับการดูแล ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ อยู่ในระดับ ดี คิดเป็นร้อยละ 72  และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 88.66 ผู้ดูแลผู้พิการมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ อยู่ในระดับ ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 78  และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 82 หลังการอบรมอาชีพเสริม ผู้พิการได้มาร่วมกลุ่มทุกวันที่ 15 เพื่อผลิตสินค้า ผลิตภัณฑ์ดอกไม้จันทน์จะจัดส่งให้ชมรมผู้สูงอายุเพื่อใช้ในงานฌาปนกิจศพ น้ำมันไพรและลูกประคบสมุนไพรจำหน่ายให้กับหมอนวดพื้นบ้านได้ใช้กับผู้มารับบริการ ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจานวางจำหน่ายที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม รวมถึงออกบูทในงานต่างๆ  ทำให้ผู้พิการมีรายได้ที่มั่นคง สร้างความมีคุณค่าให้กับผู้พิการ

Dictionary ชี้เป้า



โดย:นางสุมาวดี  ณะไชยลักษณ์    นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
รพสต.วัดขนุน    อ.สิงหนคร  จ.สงขลา
 
          ตำบลวัดขนุน ประกอบด้วย 8 หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน 1,874   หลัง  ประชากร 8,663  คน  และมีประชากรแฝงส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวประมาณ  1,500  คน     การดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขนุน ในเรื่องการรับ แจ้งข่าวการเกิดโรค   โดยเฉพาะช่วงนอกเวลาราชการ  ซึ่งการตรวจสอบเป้าหมายที่ได้รับรายงานและการปฏิบัติงานโดยทันทีเป็นไปได้ยาก  ทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีและมีผลกระทบในการระบาดของโรคเป็นวงกว้างขึ้น  ด้วยเหตุนี้จึงได้คิดจัดทำ Dictionary  ชี้เป้า ใช้เป็นคู่มือในการค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ได้รับแจ้ง ตรวจสอบข่าว ข้อเท็จจริง และดำเนินกิจกรรมตามที่ได้รับแจ้งนั้น  ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวก  ประหยัดทั้งเวลา แรงงานและ งบประมาณ  และนอกจากงานควบคุมและป้องกันโรคแล้วยังใช้ประโยชน์ในงานอื่นๆ เช่น การติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ก่อน/หลังคลอด   การติดตามผู้ป่วยผิดนัด เลื่อนนัด  หรือการให้ได้รับบริการโดยมิได้นัดหมาย  การออกให้บริการตรวจคัดกรองโรคในชุมชน เป็นต้น โดยได้มีการสำรวจจัดทำทะเบียนบ้านที่ อสม.รับผิดชอบ         คิดหารูปแบบจัดทำ  Dictionary ชี้เป้า   ประชุมเจ้าหน้าที่ ชี้แจงการใช้ Dictionary ชี้เป้า การบันทึกการรับและส่งข้อมูล   ประชุม อสม.ในการดำเนินโครงการและการปฏิบัติงานตามงานที่รับผิดชอบในแต่ละงานปฏิบัติงานในการรับ ส่ง ข้อมูลและดำเนินการตามงานที่ได้รับข้อมูล

                    ผลการดำเนินงาน   พบบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขนุน     มีความพึงพอใจในนวัตกรรม Dictionary ชี้เป้า ที่ระดับ 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากนวัตกรรมดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่  ในการค้นหาเป้าหมายที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่,  ระหว่าง อสม.กับเจ้าหน้าที่ หรือจะติดต่อโดยผ่าน อสม. ที่รับผิดชอบหลังคาเรือนดังกล่าวก็ได้  เนื่องจากทุกหลังคาเรือนในตำบลวัดขนุนจะได้รับการบันทึกบ้านเลขที่ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ประจำบ้าน และ อสม.ที่รับผิดชอบไว้ใน Dictionary ดังกล่าว  จึงทำให้ปัญหาในเรื่องความไม่สะดวกในการติดต่อสื่อสาร และการค้นหาเป้าหมายหลังคาเรือนในชุมชนที่ตกหล่น หมดไป  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถสื่อสาร  ส่งข่าว และตรวจสอบข้อมูลด้านสุขภาพกับชุมชนได้ตลอดเวลา  ซึ่งย่อมนำพาสู่การแก้ไขปัญหาที่ทันท่วงที  ส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี เพื่อชีวิตที่เป็นสุขตลอดไป

รักที่ยิ่งใหญ่ จากหัวใจที่บริสุทธิ์




โดย  นางฮัสนะห์   โอลำผล       
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  รพสต.หัวเขา   อ.สิงหนคร จ.สงขลา

 
           ป้าไลกับน้องกั้ง  ป้าไลหญิง  อายุ 51 ปี   รูปร่างผอมบาง เนื้อเหลว หนังเหี่ยวย่น  เมื่ออดีตอาศัยอยู่กับสามี ทำงานเรือน้ำมันบ้านฐานะยากจน มีลูก  2 คน ลูกสาวคนแรก มีครอบครัวย้ายไปอยู่กับสามี  จังหวัดกระบี่  ส่วนลูกชายคนที่ 2  (กั้ง) พิการเป็นโรคลมชัก พิการสมองและแขนขาลีบเดินไม่เป็นปรกติ  หลังจากนั้นสามีก็มีภรรยาใหม่ โดยทิ้งให้แม่ลูก อยู่กันตามลำพัง   ป้าไลมีอาชีพขายข้าวเหนียว โดยทูนถาดข้าวเหนียวบนศรีษะเดินขายทุกวัน ขายได้บ้าง หมดบ้าง เหลือบ้าง

          วันหนึ่งป้าไลเริ่มป่วยลงโดยมีโรคภัยรุมเร้า  ทั้ง เบาหวาน  ความดัน หัวใจ สุขภาพ เริ่มอ่อนแอลงทุกที ทุกที   ส่วนกั้งผู้เป็นลูกชายก็ยังคงต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสงขลา  แต่ แพทย์ต้องส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลมอ. รักษาเฉพาะทาง  ด้วยระยะทางในการไปรักษาตัว รวมทั้ง สภาพร่างกายของกั้งที่ไม่เป็นปรกติเดินเซไปเซมา  สมองสั่งการช้า กระตุกบ้างเป็นทีๆ        ส่วนป้าไลก็สภาพร่างกายไม่ค่อยอำนวยมากนัก  แต่ด้วยความรักที่ป้าไลมีต่อกั้ง ป้าไลกัดฟันสู้เพื่อรักษากั้งผู้เป็นลูกชายไปตรวจตามนัดทุกครั้ง

                    รักใดเล่าเท่ารักแท้ที่แม่รัก         ผูกสมัครรักมั่นมิหวั่นไหว

          ห่วงใดเล่าเท่าห่วงดั่งดวงใจ                           ที่แม่ให้กับลูกอยู่ทุกครา

          ยามลูกขื่นแม่ข่มตรมหลายเท่า                        ยามลูกเศร้าแม่โศกวิโยคกว่า

          ยามลูกหายแม่ห่วงคอยดวงตา                        ยามลูกมาแม่หมด ลดห่วงใย

           ขณะทำงานอยู่  รพ.สต. มีอสม.คนหนึ่งโทรมา  กริ้งๆๆ  ช่วยที  ช่วยที  ช่วยมาดูผู้ป่วยรีบมาเลยน่ะ   เมื่อวางสายจาก อสม. จึงรีบสตาร์ทรถออกไปดูทันที  พร้อมกระเป๋าเยี่ยมบ้านคู่ใจ   กริ้งๆๆ  มีอีกสายโทรเข้ามา ขณะไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วย  ในใจอุทานขึ้นมา อุ๊ย ! สาธารณสุขอำเภอโทรมา  โทรมาทำไมเนี๊ยะ  มีอะไรหรือเปล่าน๊า??? ”     สวัสดีค่ะ   ช่วยไปดูผู้ป่วยหมู่ที่ 3 มีคนโทรมาแจ้งว่า ผู้ป่วยที่ด้อยโอกาสในบัญชีรายชื่อของเรา มีอาการอยู่ที่บ้าน   ค่ะ ค่ะ ค่ะ กำลังเดินทางไปดูอยู่ค่ะ  ขอบคุณค่ะ   เมื่อถึงบ้านป้าไล  พบว่า  ป้าไลไม่รู้สึกตัว  นอนตรงประตูบ้าน  มีผ้าถุงกองอยู่ข้างๆประมาณ  10  ผืน  มีกลิ่นปัสสาวะเหม็น    ฉ๋องทั่วบ้าน  สภาพบ้านเป็นสังกะสีขึ้นสนิม ในบ้านรกรุงรัง จาน ชาม แก้วน้ำ วางเกลื่อนกลาดทั่วบ้าน   ข้างป้าไลที่นอนไม่รู้สึกตัว   กั้งยืนละหมาดอยู่  นุ่งผ้าถุงเก่าๆ ขึ้นรา  หมวกใบเก่าๆเป็นจุดด่างๆครอบศรีษะ   โดยกั้งยืนละหมาดอยู่ข้างๆด้วยความกระวนกระวาย  เมื่อเข้าไปดูสภาพป้าไลอาการไม่สู้ดีนัก  จึงบอกให้กั้งว่าจะพาป้าไลไปโรงพยาบาล   ฉันรีบโทรรถของเทศบาลที่คอยบริการประชาชนให้มารับป้าไลโดยด่วน    แต่ โชคช่างไม่เข้าข้าง รถของเทศบาลไม่ว่าง  ป้าไลไม่รู้สึกตัว รถก็ไม่มี  จึงได้ คิด  คิด  คิด  นึกได้ว่ามีผู้ที่ช่วยเราได้ ฉันรีบโทรหาท่านสาธารณสุขอำเภอ    กริ้งๆๆ  ท่านค่ะ  ฉันแจ้งอาการผู้ป่วยคร่าวๆ  และรีบบอกปัญหา  ท่านสาธารณสุขอำเภอ ว่าไม่เป็นไรจะช่วยประสานรถให้อีกทาง   ขอบคุณค่ะ   5 นาที ไม่ถึง     รถก็ได้มาถึงหน้าปากซอยบ้านของป้าไล  ทุกคนที่อยู่ข้างๆบ้านช่วยกันย้ายร่างของป้าไลขึ้นบนรถ  ขณะเดียวกันที่ยกร่างของป้าไล  หันไปอีกทีก็เห็นกั้งตกใจ  ชักจนหมดสติ  ทันใดนั้นจึงพา 2 แม่ลูกขึ้นรถไปโรงพยาบาล ทันที    ห้องฉุกเฉิน  2 แม่ลูก  ได้รับการช่วยเหลือจนแพทย์ ให้นอนโรงพยาบาลเพื่อดูอาการก่อน  ขณะตามผู้ป่วยไปโรงพยาบาลนั้นพยายามติดต่อลูกสาว  ลูกสาวก็รับทราบ  เมื่อ 2 แม่ลูก เข้านอนที่  ตึกใน ป้าไลเริ่มรู้สึกตัว  ป้าไลมีอาการกังวล กระสับกระส่าย  เมื่อถามถึง ป้าไลพูดด้วยเสียงเครือในลำคอและชี้ที่เอวว่า เงิน เงิน เงิน เหน็บไว้ จึงบอกป้าไลไปว่า ฝากพยาบาลไว้แล้ว ไม่ต้องกังวลค่ะ  ตอนนี้นอนพักเลย  ปลอดภัยแล้ว  อยู่โรงพยาบาล  และแจ้งพยาบาลไปว่าหากมีอะไรโทรแจ้งมาได้เลย   เช้าวันต่อมา      ตึกที่กั้งนอนรัษา  กั้งมีท่าทางกระสับกระส่าย  ดูลุกลี้ลุกลน กระวนกระวายจึงเข้าไปถามกั้งว่า     กั้งเป็นอะไร มีอะไรหรือเปล่า   กั้งตอบว่า     อยากไปหาแม่  แม่อยู่ไหน พาไปได้มั๊ย  กั้งเดินไม่ค่อยไหวจึงเอารถเข็ญพากั้งไปหาแม่   ขณะพากั้งไป  กั้งยิ้มด้วยสีหน้าที่สดชื่นขึ้น  ดูมีความสุขที่ได้ไปยังอ้อมอกแม่  เมื่อถึง กั้งเรียกแม่ และลูบหน้า  ลูบแขน  ลูบขา ถามแม่ตลอดเวลาว่า   เจ็บมั๊ย เจ็บตรงไหน หิวมั๊ย    พร้อมทั้งใบหน้าอันเต็มไปด้วยความห่วงใย  กับน้ำตาที่คลอเข้าตาทั้ง 2 ข้าง

แม่ ยังมีลูกนี้ ที่เป็นห่วง       และไม่ลวง หลอกให้ ใจขมขื่น

อยากปลอบปลุก ทุกข์ช้ำ ที่กล้ำกลืน  น้ำตารื้น ซับให้ อยู่ใกล้ชิด

แม่ ยังมีลูกนี้ ที่เป็นห่วง          ในทุกช่วงเวลา ที่ล้าจิต

มิเคยห่าง ร้างใจ ไปสักนิด        ยังเฝ้า ติดตามดู รับรู้ความ

แม่ ยังมีลูกนี้ ที่เป็นห่วง          รักใหญ่หลวง กำลัง โลกทั้งสาม

แม้ไม่อาจ อยู่ใกล้ไ ด้ทุกยาม     และไต่ถาม เหนื่อยไหม ในวันนี้

อยากบอกแม่ ให้รู้หนู รักแม่          เป็นรักแท้ แม่เชื้อ เหนือเกศี

ใครไม่เห็น เนื้อแท้ แม่คนดี  แม่ยังมีลูก เห็นเป็นนางฟ้า

          3 –  4  วันผ่านไป โรงพยาบาลโทรมา กริ้งๆๆ  โทรมาแจ้งผู้ป่วยทั้ง 2 คน หายดีแล้วค่ะ เมื่อวางสายรีบประสานรถไปรับ 2 แม่ลูกกลับบ้าน  เมื่อถึงวันที่แพทย์นัด ทางเราก็พา  2  แม่ลูกไปพบแพทย์ ตรวจจนเสร็จ และนำกลับส่งถึงบ้าน

           วันหนึ่ง หลังจากที่กลับจากโรงพยาบาล  ซึ่งแพทย์นัดกั้งไปตรวจ   ขณะอยู่บนรถ ซื้อขนมและน้ำให้กั้งกิน  กั้งกินด้วยความเอร็ดอร่อย  กั้งเอ่ยขึ้นมาว่า  ขนมนี้อร่อยมาก กินเพลิน ใกล้จะหมดแล้ว เก็บให้แม่กินด้วยดีกว่า  ลืมตัวกินจนเกือบหมด  ขนมอร่อยๆอย่างนี้แม่ต้องชอบแน่เลย เสียดาย เหลือนิดเดียวแล้ว ไม่น่าเลย   เมื่อถึงบ้านกั้งเห็นแม่นอนเหงื่อแตก นอนอยู่บนพื้น นอนกางขานุ่งผ้าผืนเดียว  ด้วยอากาศที่ร้อนอบอ้าว  กั้งทนดูไม่ได้รีบไปที่พัดลม  จะเปิดพัดลมให้แม่   แต่กั้งต้องรู้สึกเสียใจที่พัดลมเปิดไม่ได้ ใบพัดมันขึ้นสนิมจนมันหักใช้การไม่ได้  กั้งได้แต่ลูบพัดลม  นำใบพัดที่หักมาต่อตรงคอพัดลม ไม่ยอมลุกไปไหน ลูบไปลูบมาพยายามทำเพื่อแม่ที่นอนร้อน เห็นดังนั้น  ฉันทนดูไม่ได้ขนาดกั้งที่มีปัญหาพิการทางสมองยังคิดได้ในความรักที่ต้องตอบแทนพระคุณแม่  ฉันรีบไปติดต่อเรื่องพัดลม  นึกขึ้นได้ว่ามีบ้านผู้ใจบุญที่ชอบช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์  เมื่อไปพูดคุยปัญหาที่พบ  ท่านผู้ใจบุญได้บริจาคพัดลม 1 ตัว  ให้เพื่อดับความร้อนของป้าไล   เมื่อถึงบ้านกั้ง  มีชาวบ้านชลมุนหน้าบ้านกั้ง  ส่วนที่พบคือกั้งชักอีกครั้ง ขณะเอาน้ำละหมาด เพราะต้องตักน้ำจากโอ่งใบใหญ่  กั้งพยายามตักจนล้มและชักหัวแตกเลือดไหลเต็มพื้น   ฉันรีบโทรรถมารับไปโรงพยาบาล  เมื่อถึงโรงพยาบาลแพทย์ให้นอนดูอาการที่โรงพยาบาล

            เรื่องป้าไล  ทางเราพยายามติดต่อประสานเพื่อเส้นทางชีวิตของป้าไลที่ต้องมีคนดูแล      จึงประสานทางสะบ้าย้อย  เจ้าหน้าที่แจ้งว่า รับได้เฉพาะผู้หญิงไม่รับผู้ชาย  ฉันพยายามติดต่อประสานที่ต่างๆ ก็ไม่เป็นผล

            เช้าวันหนึ่ง  มีรถรับจ้างมายื่นกระดาษแข็งใบเล็กๆเป็นรอยฉีก  ในกระดาษนั้นมีความว่า  หมอ มาหาป้าไลหน่อย  ป้าไลอาการหนักแล้วมาเลยน่ะ  เมื่อไปถึงบ้าน ป้าไลก็ได้จากเราไปแล้ว

            ก่อนจากไปของป้าไลคืนนั้นเวลา  22.00  น. ( 4 ทุ่ม)  ป้าไลบอกกั้งว่าอยากน้ำเย็นๆ กั้งได้ยินเช่นนั้น รีบเดินไปซื้อเดินหลงไปถึงหมู่ 2 ( ระยะทาง 800 เมตร) มีผู้พบเห็นพามาส่งบ้าน และซื้อน้ำมาให้ 1 ถุง และเมื่อเวลา 02.00 น. ( ตี 2 ) แม่บอกกั้งอีกว่าอยากน้ำเย็นๆ กั้งก็ออกไปเดินไปเรื่อยๆหลงไปถึงหมู่ 6 ( ระยะทาง 2  กิโลเมตร ) สภาพกั้งที่เดินหาน้ำเย็นให้แม่ เดินผ้าถุงหลุดลุ่ย มีคนถามว่าไปไหน   กั้งตอบว่าไปหาน้ำให้แม่แม่หิว  ชาวบ้านที่อยู่ละแวกนั้นก็สงสารพามาส่งถึงบ้าน  ตื่นเช้ามากั้งก็นอนอยู่ข้างๆแม่นอนตรงปลายเท้า โดยไม่รู้ตัวเลยว่า แม่ที่นอนอยู่ข้างๆได้จากกั้งไปแล้ว  เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปได้จัดการเรื่องป้าไลเสร็จสิ้น ได้ส่งข่าวไปยังพ่อของกั้ง  พ่อของกั้งซึ่งอยู่กระบี่กับแม่เลี้ยง  และพูดคุยเล่าเหตุการณ์ที่ผ่านมาของป้าไลและกั้ง  พ่อของกั้งจึงมารับกั้งไปดูแลต่อไป  กั้งมีความสุขจนทุกวันนี้

ผลบุญ ที่ทำไว้ กับผู้บุพการี ร่วมกับ ชีวิตที่กำลัง จะโรยรา

ได้งอกเงย มีความสุข อีกครั้งอย่างนิรันดร์




 


 

นักสาธารณสุขชุมชน เพื่อคนปฐมภูมิ(2)

 

 

 

 
การนำเสนอผลงานปี2556 มีทีมจาก สสจ.สงขลา มาสนับสนุนกิจกรรม
และ คปสอ.สิงหนคร  สนับสนุนงบประมาณ

นักสาธารณสุขชุมชน เพื่อคนปฐมภูมิ(1)


 
 
 
 
 
นักสาธารณสุขชุมชน นำเสนอผลงาน ประเภท นวตกรรม  เรื่องเล่า หนังสั้น
oral  presentation and poster persentation
วันที่ 17 พฤษภาคม 2556 ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสิงหนคร

ดอกไม้บานรุ่นแรกปี2556

  

 
 
ดอกไม้กำลังจะบาน  ต้อนรับลูกชายคนใหม่
ลูกรักจากบ้านไปไกล จากไปนานแสนนาน
ท้องฟ้าที่หน้าบ้านเรา  คืนนี้มีดาวดวงโต
น้องสาวเจ้าเดินคุยโว  ว่าพี่ชายกำลังจะกลับมา
รอ  รอ  รับลูกชาย  รอ  รอ  รอรับพี่ชาย
ด้วยหัวใจ  ที่พองโต
.............
ผู้คนที่รดน้ำต้นไม้:ประภาวดี จุนทการ/อัสน๊ะ โอลัมผล/วาสนา นุ้ยกลั่น
สุชาติ  ชัยกิจ/รุ่งโรจน์ ศักดิ์มรกต
โดยการนำของ สมชาย พันธุ์ไพโรจน์